8 วิธีแก้ท้องอืดอย่างง่าย-by-Doctor-Healthcare

ทั้งที่ไม่ได้ทานอาหารมื้อใหญ่แต่ทำไมยังมีอาการอืดท้องได้ มีหลายข้อมูลที่พยายามจะอธิบายที่มาที่ไปของอาการนี้ นอกจากโรคแล้วพบปัจจัยที่ก่อให้เกิดท้องอืด เช่น ความเครียด การทานน้ำตาล ความไม่สมดุลของแบคทีเรียดีในกระเพาะอาหาร ภาวะตอบสนองต่อยาและสารอาหารไวกว่าปกติ

 

วิธีรักษา-ปวดท้อง-ท้องอืด

 

อาหารกับท้องอืด

ปัจจัยที่พบบ่อยในการทำให้อืดท้องคือการทานเยอะเกินไป หรือทานอาหารจำพวกไขมันสูง อาหารรสจัด น้ำอัดลม อาหารเพื่อสุขภาพก็สามารถทำให้เกิดอาการอืดท้องได้ เช่น ถั่ว บร็อคโคลี่ กะหล่ำปลี หัวหอม แม้กระทั่งภาวะก่อนมีประจำเดือน การพูดเยอะ การกลืนลม ก็ยังเป็นสาเหตุให้ท้องอืดได้

โรคที่ทำให้มมีอาการท้องอืด

โรคลำไส้แปรปรวน โรคโครห์น โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ เชื้อราในทางเดินอาหาร โรคแพ้กลูเตน เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้ผู้ป่วยอืดท้อง และอาการอืดท้องอาจเป็นสัญญาณเตือนในมะเร็งรังไข่ มะเร็งทางเดินอาหาร ดังนั้นหากพบว่ามีอาการอืดท้องต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์ และถ้าพบอาการร่วม เช่น อิ่มเร็ว ความอยากอาหารลดลง ปวดท้อง ปวดท้องน้อย ถ่ายเหลว ท้องผูก  ถ่ายปนเลือด น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ควรรีบปรึกษาแพทย์

10 วิธีหลีกเลี่ยงท้องอืด

แม้ว่าอาการท้องอืดส่วนใหญ่ดีขึ้นได้เอง แต่ก็ยังมีวิธีการที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำเพื่อช่วยลดภาวะอืดท้องได้

1.กำจัดความเครียด

คำพูดแนะนำให้ลดความเครียดเป็นเรื่องที่ดูเหมือนว่าทำได้ง่าย แต่ในทางปฏิบัติกลับทำได้ยาก เช่น การสงบสติหรือการทำสมาธิเพียงแค่ 10 นาที เมื่อเราลดความเครียดได้จะช่วยลดอาการอืดท้องได้เช่นกัน เพราะสุขภาพจิตกำหนดสุขภาพกายได้

2.หลีกเลี่ยงอาหารที่สงสัยว่าทำให้มีอาการแพ้

อาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น กลูเตนที่พบในธัญพืช ผลิตภัณฑ์นม ลองงดอาหารที่ต้องสงสัยเป็นเวลานาน 21 วัน โดยขณะทดลอง เราจำเป็นต้องงดอาหารนั้นอย่างเด็ดขาด ร่วมกับสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ควรจะดีขึ้นเนื่องจากไม่มีสารต้องสงสัยก่ออาการแพ้อยู่ในตัวเรา

3.เพิ่มจุลินทรีย์ดีโปรไบโอติก

ผู้ที่ทานยาฆ่าเชื่อบ่อย เดินทางท่องเที่ยว เสี่ยงต่อการทานอาหารที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคหลากหลาย ทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงและเส้นใยอาหารต่ำ การทานอาหารเสริมที่มีโปรไบโอติกหรือกลุ่มอาหารที่ผ่านการหมักดองอย่างถูกสุขลักษณะจะช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ดีในทางเดินอาหาร เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ลดอาการอืดท้องได้ ควรทานต่อเนื่องนาน 4 สัปดาห์ ร่วมกับการปรับสุขนิสัยในการเลือกทานอาหาร เช่น กิมจิ คีเฟอร์ โยเกิร์ต

4.ทานไฟเบอร์ให้มากขึ้น

โปรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ดีที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหาร โดยจุลินทรีย์เหล่านี้มีเส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์เป็นอาหาร คนส่วนใหญ่ทานได้ประมาณ 18 กรัมต่อวัน ในขณะที่สมาคมโรคหัวใจแนะนำให้ทาน 30 กรัมต่อวัน อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผลไม้ ผัก ถั่ว ธัญพืช มันฝรั่งที่ไม่ปอกเปลือก การทานผักผลไม้สดเพิ่มการอืดท้องได้มากกว่าผักผลไม้ที่ผ่านการปรุงซึ่งช่วยปรับให้โครงสร้างอ่อนนุ่มลง เช่น ต้ม นึ่ง อบแห้ง อย่างรก็ตามควรทานควบคู่กับแบบสดด้วยเพื่อเสริมกันทางด้านวิตามินและเกลือแร่ เราอาจเติมเครื่องเทศที่เสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร เช่น โหระพา สะระแหน่ โรสแมรี่ ผงกะหรี่ น้ำมะนาว ควรหลีกเลี่ยงมัสตาร์ด ซอสมะเขือเทศ กระเทียม หัวหอม น้ำส้มสายชู เพราะสิ่งเหล่านี้เพิ่มอาการอืดท้องจากการกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้

5.ดื่มน้ำ

การดื่มน้ำน้อยเกินไปจะลดการทำงานของระบบย่อยอาหารและอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เราท้องอืดได้ อย่างน้อยควรดื่มน้ำ 1.5-3 ลิตรต่อวัน ขึ้นกับกิจกรรมที่เราทำ ไม่ควรดื่มชานม กาแฟ น้ำอัดลม เพราะจะเพิ่มอาการท้องอืดมากขึ้น

6.เคี้ยวอาหาร

เป็นเรื่องที่เรารู้กันทั่วไปว่า ก่อนกลืนอาหารเราควรเคี้ยวให้ละเอียด แต่ในช่วงเร่งรีบหรือทำกิจกรรมอื่นร่วม เช่น ทานอาหารขณะดูทีวี มักทำให้เรากลืนอาหารที่ชิ้นใหญ่กว่าปกติ ทำให้การย่อยและดูดซึมอาหารไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ ส่งผลให้เราท้องอืดได้ง่าย

7.ลดปริมาณเกลือ

อาการท้องอืดไม่ได้เกิิดจากลมในกระเพาะเพียงอย่างเดียว ยังมีเกลือที่ทำให้ร่างกายเราอุ้มน้ำมากขึ้นโดยเฉพาะที่กระเพาะอาหาร หนังตาบวม น้ำหนักขึ้น แต่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยอาการจะดีขึ้นหลังจากร่างกายขับของเสีย เกลือ น้ำ ออกไปกับปัสสาวะ

8.ลดการทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง

คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ถูกกักเก็บไว้ในรูปของไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อ ทุกหนึ่งกรัมของไกลโคเจนจะมีน้ำประกอบด้วย 3 กรัม ในกรณีที่เราไม่ได้ออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายไม่จำเป็นต้องสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ปริมาณมาก เมื่อเราทานคาร์โบไฮเดรตลดลง ร่างกายเราจะเริ่มเรียนรู้การดึงพลังงานออกมาใช้และเผาผลาญพลังงานส่วนเกินของร่างกาย อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น เบเกล พาสตา ซีเรียล รวมทั้งน้ำตาลแอลกอฮอล์ เช่น ไซลิทอล มอลทิทอล ที่มักใช้ในอาหารแคลอรี่ต่ำ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลแอลกอฮอล์ได้ ส่งผลให้ท้องอืดหรือถ่ายเหลวตามมาได้