หญ้าหวาน แทนหวาน ดีจริงไหม-by-Doctor-Healthcare

หญ้าหวานที่เราพูดกันทั่วไปมักจะหมายถึงหญ้าหวานสายพันธุ์ Stevia rebaudiana ซึ่งเป็นชนิดที่ให้ความหวานมากที่สุด และถูกนำมาใช้เป็นสารให้ความหวาน ความหวานจากธรรมชาตินี้อยู่ในหญ้าหวานเอง เรียกว่าสารประกอบไกลโคไซด์ (steviol glycosides) คำถามที่หลายคนสงสัย คือ ให้พลังงานเท่าไร มีโทษต่อร่างกายหรือไม่ เป็นต้น

 

stevia-หญ้าหวาน-ปลอดภัย

 

หญ้าหวานมีประโยชน์อย่างไร

  • ลดน้ำหนัก หญ้าหวานไม่ได้มีคุณค่าทางสารอาหาร นั่นหมายความว่า หากเราทานหญ้าหวานเข้าไป ร่างกายเกือบจะไม่ได้พลังงานจากพืชชนิดนี้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักจึงเลือกใช้หญ้าหวานเป็นส่วนหนึ่งในแผนการลดน้ำหนัก แต่ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าได้ผลอย่างไร
  • เบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การทานหญ้าหวานอาจช่วยให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดเป็นไปได้ง่ายขึ้น ข้อมูลวิจัยปี 2010 พบว่าผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่เป็นผู้ป่วยโรคอ้วนจำนวน 12 คน มีระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดลดลง และรู้สึกอิ่มแม้ว่าจะได้รับพลังงานปริมาณน้อย แต่งานวิจัยนี้ทำในห้องทดลองซึ่งมีสิ่งแวดล้อมต่างไปจากชีวิตจริง
  • คอเลสเตอรอล ปี 2009 มีงานวิจัยว่าใบหญ้าหวานช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ผู้เข้าร่วมการทดลองได้ทานสารสกัดหญ้าหวาน 400 มล. ทุกวันเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลแสดงว่าหญ้าหวานสามารถลดระดับไขมันแย่ (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ อีกทั้งยังเพิ่มไขมันดี (HDL) โดยไม่พบผลข้างเคียง งานทดลองนี้ถือว่าผู้ร่วมการทดลองได้รับหญ้าหวานในปริมาณที่สูง จึงไม่สามารถบอกได้ว่าหากทานหญ้าหวานปริมาณน้อยกว่านี้จะส่งผลต่อระดับไขมันอย่างไร
  • ด้านต้านการอักเสบ การทานหญ้าหวานปริมาณน้อยจะช่วยต้านการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ผลด้านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อไต ตับ สมอง อวัยวะต่าง ๆ ในการต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกาย

ข้อควรคำนึงก่อนทานหญ้าหวาน

บางคนทานแล้วทำให้รู้สึกคล้ายมีโลหะในปาก ส่วนผู้ที่แพ้ละอองเกสรของหญ้า ragweed มีโอกาสแพ้หญ้าหวานได้สูง อาการแพ้ที่พบได้ เช่น บวมและคันที่ปาก ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ ผื่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ชาคล้ายเข็มทิ่ม

ในใบหญ้าหวานมีส่วนประกอบหลากหลาย มีเพียงบางตัวที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา ได้แก่ steviaoside และ stevia extract  ซึ่งไม่ครอบคลุมถึง crude stevia extract และใบหญ้าหวานทั้งใบ ผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทาน เนื่องจากมีข้อมูลที่พบในสัตว์ทดลองว่า หญ้าหวานปริมาณสูงสัมพันธ์กับการเป็นหมัน แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนในคน

หญ้าหวานมีรูปแบบใดบ้าง

หญ้าหวานเกิดจากธรรมชาติ แต่หญ้าหวานแบบบรรจุสำเร็จรูปอาจไม่ได้มาจากธรรมชาติทั้งหมดอย่างที่เราคาดหวัง อาจมีการเติมสารให้ความหวานสังเคราะห์ที่มาจากน้ำตาลแอลกอฮอล์ สารแต่งกลิ่น และสารให้ความหวานที่สกัดจากข้าวโพด ธัญพืช หรือข้าว เราควรรู้จักชนิดของหญ้าหวานก่อนเลือกทาน

  1. ใบหญ้าหวาน (Green leaf Stevia)
  • ชาวญี่ปุ่นและอเมริกาใต้ใช้หญ้าหวานในครัวเรือนและในการดูแลสุขภาพมาหลายศตวรรษ
  • ผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยที่สุด
  • ไม่ให้พลังงานหรือน้ำตาล จึงทำให้หญ้าหวานแตกต่างจากสารให้ความหวานจากธรรมชาติชนิดอื่น เช่น น้ำผึ้ง
  • มีรสหวานออกขมเล็กน้อย ความหวานน้อยกว่าผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวานที่ผ่านการแปรรูปแล้ว
  • หวานมากกว่าน้ำตาล 30-40 เท่า
  • ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอล ความดันโลหิตสูง ลดน้ำหนัก และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
  • เป็นชนิดที่ดีที่สุด แต่นิยมนำมาทานในบางกลุ่ม
  1. สารสกัดหญ้าหวาน (Stevia Extract)
  • ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักสกัดหญ้าหวานโดยเลือกเฉพาะส่วนที่ให้ความหวาน ส่วนขมซึ่งไม่มีประโยชน์จะปนติดมาด้วยเล็กน้อย
  • ไม่ให้พลังงานหรือน้ำตาล
  • มีรสหวานกว่าใบหญ้าหวาน
  • หวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า
  1. หญ้าหวานที่ผ่านการแปรรูป (Altered/Barely Stevia)
  • ผ่านกระบวนการปรุงแต่งทางเคมี อาจมีสารให้ความหวานสังเคราะห์หรือสารให้ความหวานจากแหล่งอื่นปน
  • มีส่วนผสมของสารประกอบที่ตัดแต่งพันธุกรรม (GMO)
  • ไม่ให้พลังงานหรือน้ำตาล
  • หวานมากกว่าน้ำตาล 200-400 เท่า
  • ควรหลีกเลี่ยง อาจเกิดผลข้างเคียงจากการทาน เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้

หญ้าหวานแบบผงและแบบน้ำ

  • ความหวานแตกต่างกันไปในแต่ละยี่ห้อ โดยทั่วไปสารสกัดหญ้าหวาน หวานมากกว่าน้ำตาล 200-300 เท่า
  • หญ้าหวานทั้งแบบผงและแบบน้ำสกัดจะมีความหวานมากกว่าใบหญ้าหวาน
  • ใบหญ้าหวานและสารสกัดหญ้าหวานหยาบ (crude stevia extract) ยังไม่มีการรับรองจากองค์การอาหารและยาอเมริกา
  • หญ้าหวานแบบน้ำอาจมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบในบางยี่ห้อ ให้เลือกแบบที่ไม่มีแอลกอฮอล์
  • หญ้าหวานแบบผงอาจบรรจุไฟเบอร์เส้นใยอาหารอินูลินจากธรรมชาติได้