แคลเซียม แร่ธาตุที่ร่างกายสูญเสียทุกวัน ตอนที่ 1-by-Doctor-Healthcare

เมื่อพูดถึงแคลเซียม หลายคนมักนึกถึงความสำคัญของแคลเซียมต่อกระดูกและฟัน แต่คาดไม่ถึงว่าแคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อส่วนอื่นของร่างกายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมความดันโลหิต การทำงานของระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และอื่น ๆ อีกมากมาย

 

get-more-calcium

 

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้มากที่สุดในร่างกายโดยเฉพาะที่กระดูกและะฟันคิดเป็น 99% ของทั้งหมด  เราต้องการแคลเซียมเป็นปริมาณมากในช่วงวัยเด็กเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และร่างกายยังคงต้องการอย่างต่อเนื่องเพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูก หนึ่งเปอร์เซนต์ของแคลเซียมที่เหลือนั้นสะสมอยู่ตามเนื่อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

แม้ว่าปริมาณแคลเซียมที่อยู่ตามเนื้อเยื่ออื่นมีเพียงเล็กน้อย แต่เป็นแร่ธาตุที่สำคัญมากตัวหนึ่งที่เราใช้เพื่อดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกายในชีวิตประจำวัน เมื่อถึงเวลาจำเป็น ร่างกายจะยืมแคลเซียมจากธนาคารที่เป็นแหล่งสะสมของแคลเซียมนั่นคือกระดูกและฟัน

ประโยชน์ของแคลเซียม

  1. เสริมสร้างกระดูกและฟัน

ประโยชน์ของแคลเซียมที่คนส่วนใหญ่รู้จักดีคือ ช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัยไม่เท่ากัน แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับทุกวัยนั่นคือการได้รับแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ ความต่อเนื่องของการรับแคลเซียมจะช่วยคงความหนาแน่นของมวลกระดูก ยังช่วยในกระบวนการสร้างเนื้อกระดูกใหม่ และป้องกันการเกิดโรคกระดูกต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น ข้อเสื่อม

  1. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ

สารที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาทในสมองและสารสื่อประสาทตามที่ต่าง ๆ คือ แคลเซียม หากร่างกายมีระดับแคลเซียมไม่เพียงพอ ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาท นอกจากนั้น การหดตัวของกล้ามเนื้อก็อาศัยแคลเซียมเป็นตัวกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อด้วยเช่นกัน หากพร่องแคลเซียมอาจทำให้เกิดอาการตะคริวได้

  1. การประสานงานของเซลล์

เซลล์ร่างกายจะทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ขัดแย้งกันเอง จำเป็นต้องส่งสารเพื่อทำงานประสานกัน แคลเซียมทำหน้าที่เป็นเหมือนคนส่งข่าวที่ช่วยให้เซลล์ทำงานตามคำสั่งได้ตามลำดับ

  1. ป้องกันโรค

พัฒนาการการเจริญเติบโตของกระดูกสูงสุงที่อายุ 20 ปี หลังจากนั้นความหนาแน่นของมวลกระดูกจะเริ่มลดลงโดยเฉพาะอายุ 30 ปีจะเริ่มลดชัดเจน การดูดซึมแคลเซียมต้องใช้แร่ธาตุแมกนีเซียมและวิตามินดีร่วมด้วย ดังนั้นการป้องกันภาวะกระดูกพรุนควรเริ่มทานแคลเซียมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าหากมีอาการ เช่น ปวดตามข้อเข่า นั่นหมายความว่าเราขาดแคลเซียมไปมากแล้ว นอกจากนั้น แคลเซียมยังถือว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม ลดระดับความดันโลหิตสูง แต่การบริโภคแคลเซียมมากเกินไปนั้นก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น ดังนั้นควรบริโภคแคลเซียมอย่างพอเหมาะ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป

  1. บรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome)

ผู้หญิงหลายคนทนทรมานกับอาการก่อนมีประจำเดือน เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ น้ำหนักตัวเพิ่ม คัดตึงเต้านม อารมณ์หงุดหงิด ซึมเศร้า นอกจากคำแนะนำที่ให้หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว ทางการการแพทย์ยังแนะนำให้ทานอาหารที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง

  1.  ลดน้ำหนัก

นอกจากการทานอาหารคลีน อาหารเพื่อสุขภาพ จะช่วยลดน้ำหนักแล้ว ผลโดยอ้อมของแคลเซียมทำให้ความดันโลหิตลดลง ส่งผลให้ฮอร์โมนความเครียดหรือ “ฮอร์โมนคอร์ติซอล” ลดลง ทำให้ลดการสลายเนื้อกระดูก เพิ่มการการสลายพลังงานที่เก็บไว้ในกล้ามเนื้อมากขึ้น แต่ต้องเป็นแคลเซียมที่มาจากฝั่งของพืช หรือแคลเซียมในนมไขมันต่ำ เพราะแคลเซียมในผลิตภัณฑ์จากนมมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลปะปนมา

  1. เล็บและเส้นผม

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างเล็บและเส้นผม การขาดแคลเซียมหรือได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ทำให้ผมร่วงและเล็บไม่แข็งแรงได้ นอกจากนั้นแคลเซียมเองยังช่วยให้ผิวดูสุขภาพดี และมีผลต่อฮอร์โมนความเครียด เมื่อความเครียดลดลงก็ส่งผลทางอ้อมทำให้การหลุดร่วงของผมลดลงตามไปด้วย

  1. ช่วยให้การนอนมีคุณภาพ

การรับประทานแคลเซียมและแมกนีเซียมก่อนเข้านอน จะช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น นมวัวมีแคลเซียม เคซีน และแลกโทส ซึ่งแลกโทสมักทำให้เกิดอาการท้องอืดได้บ่อยในคนที่ไม่ค่อยดื่มนม ทางเลือกเสริมคือการทานแคลเซียมจากพืช เช่น เต้าหู้ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

 

อ่านต่อ      แคลเซียม แร่ธาตุที่ร่างกายสูญเสียทุกวัน ตอนที่ 2